การพัฒนาแอปพลิเคชัน AR ทำขึ้นมาจะช่วยทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจบทเรียน
การพัฒนาแอปพลิเคชัน AR ทำขึ้นมาจะช่วยทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจบทเรียนในรูปแบบสามมิติมากขึ้น เพื่อขยายดูทุกรายละเอียดได้อย่างสมจริง และเห็นได้อย่างชัดเจนมากกว่าการเรียนรู้จากร่างอาจารย์ใหญ่สุนัขที่ ใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น บริเวณของผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง กระดูก สมอง และอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างละเอียดมากขึ้น และมีความเป็นจริง ตรงตามเนื้อหาบทเรียนที่ใช้เรียนในห้อง ปฏิบัติการ ผู้เรียนใช้เรียนรู้เพื่อทบทวนเนื้อหาบทเรียนด้วยตนเองได้ในมุมมอง 360 องศา สามารถใช้แอปพลิเคชันเกมนี้ได้ ผ่านอุปกรณ์มือถือ แทปแลต และคอมพิวเตอร์ ได้จากทุกสถานที่ โดยเกมที่ถูกออกแบบขึ้นมา นี้จะเป็นเกมที่มีความพัฒนาคืบหน้าเป็นแต่ละด่าน มีการสะสมคะแนน โดยมีคะแนนปรากฏให้เห็นเมื่อเล่นจบแต่ละด่าน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองได้ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจ และดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจอยาก เข้ามาเล่นเกม เนื่องจากมีการออกแบบให้มีความสนุกสนานท้าทายมากขึ้น อีกทั้งช่วยให้ผู้สอนนำผลคะแนนที่ได้ที่สูงสุดของผู้เล่นมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการเรียนได้ โดยเป้าหมายในการผลิต เพื่อให้ผู้เรียน คือ นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้งานแอปพลิเคชันได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้วิจัยวางแผนการผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับสถาบันการศึกษาอื่นที่มีความต้องการใช้ในอนาคตอีกด้วย